สปาเกตตี (Spaghetti) เป็นพาสตาที่เชื่อกันว่ามีคนบริโภคมากถึง 2 ใน 3 ของพาสตาทั้งหมดที่บริโภคกันทั่วโลก สปาเกตตีได้รับความนิยมตอนปลายศตวรรษที่ 19 แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าที่มานั้นมาจากเอเชีย
ต้นกำเนิดของสปาเกตตี มาจากพ่อค้าชื่อ Marco Polo ซึ่งได้นำพาสต้ากลับมาจากการเดินทางของเขาจากประเทศจีน อย่างไรก็ตามหลักฐานเหล่านี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่หลักฐานที่พบ จะพบว่าในช่วงยุคโรมันจะมีการผลิตพาสต้าแบบใหม่ขึ้นเป็นลาซานญ่า ซึ่งในยุคนั้นจะไม่มีการนำไปเส้นลาซานญ่าไปต้มเหมือนกับพาสต้า แต่จะนำไปอบแทน จึงทำให้ยังไม่สามารถเชื่อได้ว่าลาซานญ่าในยุคโรมันนั้นถือได้ว่าเป็นพาสต้า หรือไม่ อย่างไรก็ตามในศตวรรษที่ 8 ทางตอนใต้ของอิตาลีมีชาวอาหรับย้ายถิ่นเข้ามาอยู่กันมากขึ้น จึงทำให้มีผลกระทบต่ออาหารทางท้องถิ่นมากขึ้น และจึงเป็นที่มาของต้นกำเนิดพาสต้าได้อย่างแท้จริง ผลิตภัณฑ์เส้นแห้งที่ผลิตจากซิซิลีนั้นน่าจะเป็นต้นกำเนินของเส้นพาสต้าแบบ แห้ง และได้มีการผลิตอย่างมากขึ้นในแถบ Palermo ในช่วงเวลาต่อมา นอกจากนี้คำว่า “มะกะโรนี” ยังมาจากชาวซิซิลีที่หมายถึงการนำแป้งไปบดอย่างหนัก ซึ่งสมัยนั้นเส้นพาสต้านั้นต้องใช้เวลาในการทำที่นานมากขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องแยกให้ออกระหว่างพลาสต้าและสปาเกตตี้ เพราะในนิยามนั้นสปาเกตตี้คือพลาสต้าชนิดหนึ่งที่เป็นเส้น นั้นหมายความว่า มาโคโปโล ได้ไอเดียการแปรรูปพลาสต้าที่มีอยู่แต่เดิมในแถบอิตาลีให้มีรูปแบบเป็นเส้นแบบบะหมีจีนจนกลายเป็นสปาเกตตีนั้นเอง
สปาเกตตีได้รับความนิยมตอนปลายศตวรรษที่ 19 เพราะเกิดโรงงานที่มีเครื่องมืออันทรงพลังช่วยให้ผลิตในปริมาณมากได้ ก่อนหน้านั้นต้องทำสปาเกตตีด้วยมือ กินเวลานาน และกระบวนการทำซับซ้อน คำว่า Spaghetti แปลว่า “เส้นบางๆ” ดังนั้นเมื่อ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei, 1564-1642) เขียนว่าเขา “ผูกลูกบอล 2 ลูกด้วยสปาเกตตี” ในการทดลองครั้งหนึ่ง นั่นไม่ได้แปลว่าเขาเอาอาหารมาเล่น คนอิตาลีเพิ่งใช้คำนี้เรียกพาสตาเส้นเล็กบางตอนต้นศตวรรษที่ 19 นี้เอง ครั้งแรกที่มีบันทึกเรื่องนี้ไว้คือปี 1836 และกว่าสปาเกตตีจะกลายเป็นชื่อที่ใช้กันทั่วไปในยุโรปก็ต้องล่วงไปอีก 50 ปี นับแต่นั้นสปาเกตตีก็โด่งดังมาจนถือเป็นตัวแทนของพาสตาและเป็นอาหารที่ถูก เชื่อมโยงเข้ากับอิตาลีมากที่สุดรองจากพิซซ่า ถึงขนาดที่ว่าในช่วงทศวรรษ 1960 ชาวอเมริกันเริ่มเรียกภาพยนตร์คาวบอยต้นทุนต่ำ อำนวยการสร้างและกำกับโดยชาวอิตาลี และถ่ายทำในสเปนหรืออิตาลีว่า สปาเกตตีเวสเทิร์น (Spaghetti western)
สปาเกตตีได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษช่วงครึ่งหลัง ศตวรรษที่ 20 อันที่จริงสปาเกตตียังไม่ใช่อาหารที่ชาวอังกฤษรู้จักโดยทั่วไปจนกระทั่งปี 1957 ทางสถานีโทรทัศน์บีบีซีทำให้ประชาชนเชื่อว่ามันเป็นผลผลิตจากต้นสปาเกตตี สารคดีเรื่องดังกล่าวของริชาร์ด ดิมเบิลบี (Richard Dimbleby) ทำให้ผู้ชมเชื่อถึงขั้นที่หลายคนสอบถามว่าจะหาซื้อพุ่มสปาเกตตีได้ที่ไหน ในที่สุดบีบีซีก็เฉลยว่าวัวนออกอากาศสารคดีดังกล่าวคือวันที่ 1 เมษายน คนดูจึงรู้ตัวว่ากลายเป็นเหยื่อแกล้งโกหกวันเมษาหน้าโง่ (April Fools’ Day) ถือว่าเป็นหนึ่งในเรื่องโกหกที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล
เรียบเรียงโดยทีมงานกินแหลกแจกดาว