12/8/15
อาหารเป็นปัจจัยหลักในการคงความสมบูรณ์ของสุขภาพสำหรับ สตรีวัย 60 ปีขึ้นไป ผู้หญิงส่วนใหญ่เมื่ออายุเข้าถึง 60 ปีก็จะหมดประจำเดือนอย่างสมบูรณ์ และอาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลายๆอย่าง รวมถึง น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและเมตาบอลิซึม (การเผาผลาญพลังงานของร่างกาย) ลดลง ดังนั้นการดูแลสุขภาพให้ดีโดยการควบคุมเรื่องอาหารและออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอจะช่วยป้องกันโรคต่างๆและปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพร่างกาย ที่เสื่อมถอยลง
วัยหมดประจำเดือนกับสุขภาพผู้หญิงส่วนใหญ่จะเข้าสู่วัย หมดประจำเดือนตั้งแต่ก่อนอายุ 60 ปี การขาดประจำเดือนติดต่อกันมากกว่า 12 เดือนก็ถือว่าเป็นวัยหมดประจำเดือนอย่างเต็มตัว ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงถึง 40-60 เปอร์เซนต์ ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนก็จะถูกหยุดสร้างอย่างสมบูรณ์ การลดลงของฮอร์โมนเพศอย่างมากนี้ทำให้ผู้หญิงวัย 60 ปีได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปของร่างกายและมีความเสี่ยงกับการเกิดโรคต่างๆมาก ขึ้น อัตราการเผาผลาญพลังงานลดลงจะทำให้มีแนวโน้มน้ำหนักเพิ่มขึ้น การหมดประจำเดือนก็ยังทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรค กระดูกพรุน
ปริมาณพลังงานที่ควรบริโภคสำหรับหญิงวัยหมดประจำเดือนควร เลือกรับประทานอาหารแคลอรีต่ำเนื่องจากอัตราเมตาบอลิซึมของร่างกายลดลง โดยธรรมชาติแล้วอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้ความอยากอาหารลดลง บางท่านอาจรู้สึกได้ว่าต้องการแคลอรีให้ร่างกายน้อยกว่าเดิม มีคำแนะนำสำหรับผู้หญิงวัยนี้ว่าควรรับประทานเมื่อรู้สึกหิวเท่านั้นและ บริโภคอาหารให้เพียงพอที่ทำให้ไม่รู้สึกหิว การทานอาหารมื้อเล็กๆหลายๆครั้งในแต่ละวันอาจดีกว่าทานมากๆในมื้อเดียว
สารอาหารและอาหารควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปที่มีปริมาณไขมัน เกลือโซเดียม และสารกันเสียมากเกินไป ควรทานอาหารหลายๆอย่างให้สมดุล ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม ธัญพืช ไขมันดี และน้ำเปล่า โดยเฉพาะผักและผลไม้เป็นสิ่งที่สำคัญมากในผู้หญิงวัยนี้ การบริโภคผักสดที่มีสีสันหลากหลายและน้ำผักผลไม้เป็นประจำเป็นทางที่ดีทาง หนึ่งในการป้องกันร่างกายจากโรคหัวใจและมะเร็ง ผักและผลไม้มีปริมาณสารแอนตีออกซิแดนท์และวิตามินสูงซึ่งสามารถช่วยป้องกัน โรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย
การออกกำลังกาย นอกจากอาหารแล้วการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็เป็นสิ่ง จำเป็นในหญิงวัย 60 ปี ในวันหนึ่งๆควรหาโอกาสออกกำลังอย่างน้อยให้ได้ 30 นาที การออกกำลังจะช่วยเพิ่มเมตาบอลิซึมและเผาผลาญไขมัน ท่านอาจออกกำลังโดยใช้กิจกรรมประจำวันต่างๆเช่น ทำสวน เต้นรำ ขี่จักรยาน เดิน ฯลฯ การออกกำลังโดยแอโรบิคและการฝึกความแข็งแรงจะช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ เร่งอัตราเมตาบอลิซึม และเพิ่มความแข็งให้กระดูก การออกกำลังกายจึงช่วยป้องกันจากโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ และมะเร็งได้
การขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหากมีข้อสงสัยก็ควรไปปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดขึ้น รวมถึงความกังวลเรื่องการรับประทานอาหาร หากท่านคิดว่าต้องการเปลี่ยนแปลงเรื่องอาหารการกินอย่างจริงจังก็ควรไปพูด คุยปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้กระจ่าง หญิงวัย 60 ปีขึ้นไปโดยมากแล้วแพทย์จะแนะนำให้ทานแร่ธาตุและวิตามินบางชนิดเสริม เช่น แคลเซียม วิตามินดี สังกะสี วิตามินบี 12 ทั้งนี้ท่านควรสอบถามแพทย์ก่อนว่าตัวท่านมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสาร อาหารเหล่านี้เสริมจริงหรือไม่ หรือการทานอาหารอย่างเดียวก็เพียงพอสำหรับตัวท่านแล้ว
โดย Dr.Apirath N. , Chief Editor. KinlakeStars Team.
Kin Healthy