1. ซูชิ
ซูชิ หลายคนพอพูดถึงสิ่งนี้ก็คิดกันไปถึงญี่ปุ่น แต่อันที่จริงเจ้าอาหารชนิดนี้มีต้นกำเนิดจากจากจีนมากว่า 2000 ปีก่อน โดยเริ่มมาพร้อมๆกับยุคที่ชาวจีนเริ่มขยายระบบกสิกรรม ปลูกข้าวเป็นระบบ แม้จะมีหลายกระแสกล่าวอ้างว่ามาจากภูมิภาคอาเซียน แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามเอกสารทางวิชาการชี้ชัดว่ามาจากจีน
เมนูนี้เกิดจากการที่ชาวจีนต้องการถนอมอาการ การถนอมอาหารไม่ว่าจะเป็นจากพืชหรือจากสัตว์ มีจำนวนมากและอยากชะลอการเน่าเสียของอาหาร ทำให้วัตถุดิบหลาย ๆ อย่างได้มีการแปรรูป และเกิดเป็นวัตถุดิบใหม่ๆในเมนูอาหาร แรกเริ่มคือซูชิเกิดขึ้นจากวิธีการในการเก็บรักษาอาหาร โดยนำเนื้อหลากหลายชนิดทั้งหมู กวาง ปลาวางไว้ในข้าว เพื่อให้เนื้อกินได้ในช่วงเวลาอื่นที่ต้องการได้ และทิ้งข้าวที่ใช้ห่อและหมัก วิธีการนี้ถูกแพร่กระจายไปทั่วประเทศจีน และในศตวรรษที่สิบเจ็ดได้เดินทางมาถึงญี่ปุ่น ซึ่งอาหารปลานั้นเป็นวัตถุดิบหลักของญี่ปุ่นในอดีต อย่างไรก็ตามชาวญี่ปุ่นได้นำแนวคิดไปใช้ และเริ่มกินข้าวกับปลา เพราะรสเปรี้ยวๆของข้าวชาวญี่ปุ่นมองว่ารสกลมกล่อมดีโดยไม่รู้ว่ามันอันตราย โดยซูชิยังถือเป็นของล้ำค่าขนาดนำไปจ่ายแทนภาษีได้เลยทีเดียว
และในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 วิวัฒนาการต่างๆเริ่มพัฒนา มัตสึโมโตะโยชิอิจิแห่งเอโดะ (โตเกียว) เริ่มปรุงรสข้าวด้วยน้ำส้มสายชูไวน์ข้าวและนำซอสทาลงไปที่เนื้อปลาสดๆ การทำเช่นนี้ช่วยให้สามารถรับประทานอาหารได้ทันทีแทนที่จะต้องรอหลายเดือนเพื่อเตรียมซูชิ
ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ผู้ชายคนหนึ่งชื่อ Hanaya Yohei รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการผลิต และการนำเสนอซูชิของเขา และเขาไม่ห่อปลาในข้าวอีกต่อไป เขาวางปลาสดชิ้นหนึ่งไว้บนชิ้นส่วนของข้าวที่มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วันนี้เราเรียก ‘nigiri sushi’ หรือ“ edomae sushi” (จาก Edo ชื่อของโตเกียวในเวลานั้น) และตอนนี้กลายเป็นวิธีทั่วไปในการกินซูชิญี่ปุ่น ในเวลานั้นมีการเสิร์ฟซูชิจากแผงขายซูชิบนถนน และผู้ขายตั้งใจที่จะทำให้เป็นของว่าง หรือของกินเล่นในระหว่างการเดินทาง และยังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จากที่บ้านของเขาในเอโดะการเสิร์ฟซูชิแบบนี้แพร่สะพัดไปทั่วญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว หลังสงครามโลกครั้งที่สองร้านซูชิถูกปิดตัวลง และย้ายไปอยู่ในอาคารเพื่อให้มีสภาพที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้นนั้นเอง
หากใครที่อยากลิ้มลองปลาดิบจากการหมัก ที่ไทยมีแล้ว ลองได้เลยที่นี้ >>> (คลิก)
2. ไอศครีม
แม้จะมีการกล่าวอ้างถึงเจลาโต้ว่าเป็นต้นกำเนิดไอศครีมโดยกำเนิดขึ้นจากบัญชาของซีซ่าร์แห่งจักรวรรดิโรมัน แต่อันที่จริงไอศครีมนั้นไม่ได้กำเนิดจากซีกโลกตะวันตก แต่เป็นประเทศเขตซีกโลกตะวันออก ซึ่งนั้นก็คือจีนนั้นเอง ย้อนกลับไปกว่าสองพันปีสมัยราชวงโจว มีการทำของหวานชิดหนึ่ง ซึ่งคล้ายกับไอศกรีมซอร์เบจากน้ำแข็งหิมะ โดยให้กลุามพ่อครัววังหลวงขึ้นเขาไปเก็ยหิมะผสมเกลือไนเตรดและนำลงมา ปรุงเพิ่มด้วยน้ำผึ้งและผลไม้ เป็นอาหารของชนชั้นสูงของจีน
3. พาสต้า ก๊วยเตี๋ยว
อาหารชนิดพาสต้าเป็นที่รู้จักกันดีว่าเผยแผ่จากจีนสู่ยุโรปโดยพ่อค้าชาวอิตาลี ซึ่งมีการดัดแปลงมาจากบะหมี่ พาสตา คือชื่อเรียกโดยรวมของอาหารอิตาลีประกอบด้วยเส้นที่ทำจากแป้งสาลี น้ำ ไข่ เกลือ และ น้ำมันมะกอก จากนั้นจึงนำมารีดเป็นแผ่นและตัดเป็นเส้น ทำให้สุกโดยการต้ม รับประทานกับซอสหลากหลายประเภท ที่มักมีส่วนประกอบหลักคือ น้ำมันมะกอก ผัก เครื่องเทศ และเนยแข็ง เส้นพาสตาเป็นชื่อเรียกโดยรวมของเส้นหลากหลายประเภท
ส่วนคำว่า “ก๋วยเตี๋ยว” อาจจะมาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนหรือภาษาจีนแต้จิ๋วคำว่า 粿条/粿條 โดยแต้จิ๋วอ่าน “ก๋วยเตี๊ยว” ฮกเกี้ยนอ่าน “ก๊วยเตี๋ยว” ส่วนในจีนกลางจะอ่านว่า “กั่วเถียว” (guǒtiáo) แปลว่า เส้นข้าวสุก
4. ชา
ชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนกว่า 4,000 ปีมาแล้ว กล่าวคือเมื่อ 2,737 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาเขียวได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดินามว่า เสินหนง ซึ่งเป็นบัณฑิตและนักสมุนไพร ผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงศตวรรษต่าง ๆ
ชาในประเทศจีนได้รับความนิยมมากขึ้นและได้ผลิตชาในรูปของการอัดเป็นแผ่นคือ การนำใบชามานึ่งก่อน แล้วก็นำมากระแทก ในสมัยนี้ได้นำน้ำชาถึงมาถวายเป็นของขวัญแด่พระจักรพรรดิสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – 906) และต่อมาในช่วงซ่งถือเป็นยุคทองของชา ชาไม่ได้ดื่มเพื่อเป็นยาบำรุงกำลังอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องมือเพื่อสุขภาพและต่อมาในสมัยต้าหมิงชามีการพัฒนาอย่างสูงสุดในส่วนผสมเช่น น้ำมันจากดอกมะลิ ดอกบัว และดอกเบญจมาศ
แต่ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรป การผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยได้คิดค้นกระบวนการที่ เราเรียกว่า การหมัก เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน มีการแต่งกลิ่นด้วยโดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้
รวมรีวิวชุดชาชั้นเลิศน่าลิ้มลอง >>> (คลิก)
5. กีวี่
กีวี่ ภาษาจีนเรียกหมีโหวเถา เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ต่อมาเริ่มเป็นที่แพร่หลายออกนอกประเทศจีน ต่อมา มีผู้นำไปปลูกที่นิวซีแลนด์เมื่อ พ.ศ. 2449 โดยนักบุญศาสนาคริสต์ และได้ปรับปรุงพันธุ์จนได้กีวีที่รสดีมากขึ้น จนกลายเป็นผู้ส่งออกกีวีรายใหญ่ที่สุด นอกจากนั้น นิวซีแลนด์ยังเปลี่ยนชื่อเรียกผลไม้ชนิดนี้จาก Chinese gooseberry เป็นกีวี ตามชื่อของนกกีวีที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ Jack Turner เป็นคนที่เริ่มเรียกว่า “kiwifruit” เมื่อราว พ.ศ. 2505 เพื่อการตลาดที่ติดปากและเป็นเอกลัษณ์ของตัวเอง
6. เหล้าขาว
9000 กว่าปีที่กำเนิดมาบนโลกของเหล้าขาว นับว่าเป็นแอลกอฮอลสำหรับบริโภคที่เก่าแก่ที่สุดในโลกแซงหน้าไวน์แดงของจอร์เจียร์ไปเลยที่เดียว เหล้าขาวหรือสาโทเป็นเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ชนิดไวน์ข้าว (Rice Wine) ที่ไม่ผ่านกระบวนการกลั่น ถ้านำไปกลั่นก็จะได้เป็นเหล้าขาว นิยมผลิตกันในประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย อาทิ จีน,เกาหลี,ญี่ปุ่น และประเทศเขตอาเซียนไม่ว่าจะเป็นลาว ไทย เขมร เป็นต้น โดยจะมีชื่อเรียกต่างกันไป เหล้าขาว แต่เดิมทำเพื่อใช้ในการเส้นไหว้ฟ้าดิน ต่อมากลายเป็นเครื่องดื่มของชนชั้นสูงและแพร่หลายไปทั่วนั้นเอง
7. ketchup
ในศตวรรษที่ 17 จีนในเซีนเหมินทำการดองปลาผสมกับเครื่องเทศและเรียกมันว่า (ในภาษา Amoy) kôe-chiap หรือkê-chiap (鮭汁จีนกลางguīzhīกวางตุ้ง gwai zap) หมายถึงน้ำปลาดองผสมน้ำผัก (鮭คือ ปลาแซลมอน 汁คือน้ำผลไม้) วัตถุดิบหลักจึงเป็นปลาหรือหอย ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ซอสปรุงรสได้มาถึงรัฐมาเลย์ (ปัจจุบันคือมาเลเซียและสิงคโปร์) ซึ่งเป็นที่ที่อาณานิคมของชาวอังกฤษ ชาวอังกฤษได้ลองชิมครั้งแรก คำมาเลย์มาเลเซียสำหรับซอสคือ kicap หรือ kecap (ออกเสียง [kɛt͡ʃap]) คำนั้นจึงพัฒนาเป็นคำภาษาอังกฤษ “ketchup” ผู้ตั้งถิ่นฐานอังกฤษในอาณานิคมของอเมริกาจึงใช้ซอสมะเขือเทศกับพวกเขา และต่อมานายไฮน์ทำให้มันโด่งดังไปทั่วโลกด้วยการปรับสูตรใช้มะเขือเพื่มน้ำส้มสายชูและน้ำตาลลงไปรวมถึงตัดสัตว์ทะเลออกเพื่อให้เก็บได้นานยิ่งขึ้น
8. เสี่ยวหลงเปา
เสี่ยวหลงเปา เป็นอีกเมนูที่หลายคนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่ามาจากไต้หวันบ้าง บางพื้นที่ก็คิดว่าเกิดในพื้นถิ่นตนเช่นประเทศแถบเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งทำเสี่ยงหลงเปากินกันเป็นอาหารประจำถิ่น เสี่ยวหลงเปาเป็นติ่มซำแบบหนึ่งของจีน แปลตรงตัวว่าซาลาเปาในเข่งเล็ก เป็นอาหารเซี่ยงไฮ้ที่ได้รับความนิยมมากทางตอนใต้ของจีน มีต้นกำเนิดในสมัยซ่งเหนือ โดยแต่เดิมเป็นซาลาเปาลูกใหญ่ มีน้ำซุปอยู่ข้างใน เรียกทางเปา เมื่อราชสำนักซ่งเหนืออพยพหนีชนเผ่าจินลงใต้ ย้ายเมืองหลวงจากเมืองไคฟงมาเมืองหางโจว ทางเปาก็เป็นที่นิยมในหางโจว และปรับรูปแบบให้มีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นเสี่ยวหลงเปาในปัจจุบัน
9. ผัดผงกะหรี่
ผงกะหรี่เดิมเป็นเป็นเครื่องเทศปรุงรสสีเหลือง มีต้นกำเนิดมาจากอินเดียมักใช้ในอาหารประเภทแกง แต่ถูกนำมาประยุกต์ใหม่โดยการมาทำเป็นอาหารประเภทผัดในสไตล์กว้างตุ้งของจีน โดยที่นิยมคือการทำมาผัดกับเนื้อสัตว์ เช่น ปลาหมึก ปู ให้ความหอมเย้ายวนน่ารับประทาน
10. ข้าวผัด
ข้าวผัด อาหารประจำครัว ประจำบ้านของคนไทย และยังเป็นที่นิยมทั้งในเกาหลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย แต่ำรู้หรือไม่ว่าข้าวผัดเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน โดยการเอาข้าวเย็นเหลือข้ามคืนมาผัดรวมกับส่วนผสมอื่นๆ จนทำให้เกิดเป็นอาหารเมนูใหม่ขึ้นมา จากนั้นข้าวผัดก็แพร่หลายไปพร้อมๆกับชาวจีน ที่อพยพย้ายถิ่นกระจายกันไปทั่วโลก แต่ละประเทศต่างก็ปรับเมนูข้าวผัดให้เข้ากับลิ้นของคนท้องถิ่น และวัตถุดิบที่มีอยู่แต่ละบ้าน
Pol.Capt. Kittin A.
ซูชิ, ไอศครีม, เหล้าขาว, ข้าวผัด, กีวี่, ชา, อาหารจากจีน
Kinlakestars.com
KinlakeStars.com กินแหลกแจกดาว สื่ออาหารและการท่องเที่ยว ที่นำเสนอเกี่ยวกับ อาหาร และ การกินดื่ม รวมถึงการท่องเที่ยวและที่พัก ทั้งในส่วนของ รีวิว อาหาร สถานที่ กิน ดื่ม เที่ยว พัก ผ่อนคลาย ในทุกประเภทหมวดหมู่ โปรโมชั่น ส่วนลด เมนูใหม่ กิจกรรมพิเศษ ที่เกี่ยวกับการ กิน ดื่ม บทความที่เกี่ยวกับการ กินดื่ม ไม่ว่าจะเป็น บทความกินดื่มทั่วๆไป อาทิ วิธีการ กินชีส และการดื่มไวน์ บทความการกินเพื่อสุขภาพ บทความการกินตามเทศกาล บทความสาธิตและสอนทำอาหาร สูตรทำอาหาร ข่าวสารในแวดวง การกิน ดื่ม คลิปและวีดิโอ เกี่ยวกับการ กิน ดื่ม ท่านสามารถค้นหาร้านอาหารผ่านแถบค้นหาด้านบนสุดของเวปได้เพียงพิมพ์ชื่อร้าน หรือประเภทอาหาร และย่าน คิดถึงเรื่อง กิน ดื่ม คิดถึง kinlakestars.com – กินแหลกแจกดาว