กลับมาคราวนี้มาพร้อมกับมื้ออาหารของ Sunday Brunch กับห้องอาหาร Atrium ห้องอาหารบุฟดฟ่ห์นานาชาติที่มีอาหารให้เลือกหลากหลายจัดเต็มคุณภาพดีเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งในรีวิวนี้เราได้รีวิวในช่วงที่เป็นโปรโมชั่น “Seafood Extravaganza” ที่รวบรวมหลากหลายอาหารทะเลสดใหม่มา ให้คุณลิ้มลองแบบไมาจำกัด อาทิปูม้า ปูทะเล ปูยักษ์ หอยนางรมนำเข้าจากหลากหลายที หอยแมลงภู่จากประเทศนิวซีแลนด์ และอื่นๆอีกมากมาย พร้อมเสิร์ฟให้คุณเต็มอิ่มกันทุกมื้อค่ำและมื้อสายวันเสาร์อาทิตย์ เราไปเริ่มกันเลยดีกว่าครับ (คลิกที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่) เริ่มจากซุ้มแรกของห้องอาหาร จะมีซุ้มทำแพนเค้กหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเราสามารถสั่งได้ครับ แต่เมนูนี้ถือว่าเป็น ไฮไลทสำหรับการเริ่มต้นมื้ออาหาร ไข่ออแกร์นิคประจำสัปดาห์นี้คือ ไข่ออแกร์นิคที่ ราดซอสคาบูโทนิ ตกแต่งด้วยท้อปปิ้งแบบญี่ปุ่นสาหร่าย ผงปลาโอแห้ง และลูกชิ้นปลาญี่ปุ่น เมื่อตักไข่ทานจะมีไข่แดงไหลย้อยเหมือนลาวาไหลไปรวมกับซอสคาบูโทนิ ซึ่งตัวซอสมีรสหวานนำออกมันและมีรสเค็ม มีกลิ่นหอมแซลมอนอ่อนๆบางๆ ความหอมของซอสและความนุ่มของไข่รวมกันช่างน่าหลงไหลเลยครับและจะมีเนื้อแซลมอลที่ต้มในซอสทานเคียงชิ้นเล็กๆด้วย เมนูนี้ถือว่าเป็นอีกเมนูเอกลักษณ์ของ Sunday brunch ห้องอาหาร Atrium เลยล่ะครับ แต่เมนูไข่ออแกร์นิคนี้จะมีการเปลี่ยนรูปแบบการปรุงและเสริฟไปทุกๆสัปดาห์ไม่มีซำ้นะครับ และอีกเมนูของหวานพิเศษสำหรับอาทิตย์นี้ที่เราสามารถสั่งได้ที่ซุ้มนี้คือ เครปผลไม้รวม ลักษณะของเครปร้อนๆที่มีความกรอบและความนุ่มอย่างลงตัว ทอปปิ้งด้วยผลไม้รวมนานาชนิด ราดซอสชอคโกแลตอีกนิด ทุกอย่างลงตัวมากครับ ถ้ามีโอกาสมาอีกจะไม่พลาดแน่นอน และซุ้มถัดมาคือ Seafood ซึ่งเป็นไฮไลท์ของช่วง 2 เดือนนี้ครับ ทางห้องอาหาร Atrium ได้มีบริการจัดเตรียมอาหารทะเลได้อย่างครบถ้วนหลากหลาย คัดสรรมาเป็นอย่างดี อาทิเช่น กุ้งลอบสเตอร์จากแคนาดา หอยนางรมจากหลากหลายประเทศที่คงคุณภาพความสดได้ดีขนาดตัวใหญ่กำลังพอดี หวานอร่อย หอยแมลงภู่จากประเทศนิวซีแลนด์ เนื้อหวานสดไม่มีกลิ่น กั้งไซด์ใหญ่เนื้อแน่นสด ปูแน่นๆหลากหลายชนิดทั้งปูอลาสก้าซึ่งเนื้อแน่นเปลือกแกะง่ายรสชาติสดหวานคุณภาพมาก ปูทะเลไซด์ใหญ่ และปูม้า และที่ขาดไม่ได้คือน้ำจิ้มซีฟู๊ดรสเด็ดซึ่งทางห้องอาหารกระซิบมาว่าเป็นสูตรเฉพาะของที่นี่เลยทีเดียว และนอกจากนี้ท่านสามารนำ seafood ไปทำเป็นเมนูปรุงสุกได้อีกเช่นกัน แต่ที่พลาดไม่ได้เลยก็คือ เมนู Rock Lobster เป็นการนำ Lobster มาปรุงให้กลมกล่อมและราดด้วยซอสสูตรพิเศษ ทำให้รสชาติออกมากลมกล่อมเลยทีเดียว จริงๆแล้วแค่บาร์ซีฟูดบาร์เดียวนี้ก็คุ้มค่าเกินราคาแล้วครับ ซุ้มถัดมาจะเป็น Sashimi Set : ต้องยกนิ้วให้อีกตามเคยในเรื่องของคุณภาพ ความสดใหม่ ขนาดของ sashimi เป็นชิ้นพอดีคำ แร่เนื้อปลาได้ถูกต้องตามหลักการเเร่ซาซิมิเพราะบางที่จะแร่ไม่ถูกหลักทำให่รสเปลี่ยนและไม่สามารถล๊อคความสดของเนื้อปลาไว้ได้ ที่นี่จะโดดเด่นในเรื่องของ เนื้อปลา shashimi ที่ “นุ่มและแน่น” สามารถทานได้เรื่อยๆ เพลินกันเลยล่ะครับ คุณภาพของปลาที่นำมาใช้ไม่ได้พรีเมียมระดับร้านซูชิพรีเมียมแต่ก็จัดอยู่ในเกรดที่ดีแล้วครับ นอกจากซาซิมิเองก็ยังมีซูชิที่หลากหลายรูปแบบและไส้ มีเมนูอาหารญี่ปุ่นอื่นๆด้วยอาทิเช่นซุป เทมปุระ และเมนูญี่ปุ่นอื่นๆ อีก 1 เมนูที่ทาง Kin Reviews อยากแนะนำคือ “เป็ดปักกิ่งและหมูกรอบ”…
Author: Kittin Assavavichai
24/10/15 ชาวเกาหลีใต้ ก็ไม่ต่างไปจากคนเอเชียส่วนใหญ่ที่นิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก แต่สำหรับคนเกาหลียุคใหม่ ค่านิยมนี้เริ่มเปลี่ยนไป โดยหันไปกินขนมปังที่ทำจากข้าวสาลีแทนจนอาจกล่าวได้ว่าขนมปังกำลังจะมาแทนที่ข้าวในเกาหลีใต้ในอีกไม่นานนี้ โดยวัตนธรรมเกาหลีเริ่มแพร่ขยายและเป็นที่นิยมไปทั่วเอเชียเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาโดยขยายตัวผ่านเสียงเพลงและการแสดงของเหล่าศิลปินยุคใหม่ของเกาหลีใต้ โดยล่าสุดก็เป็นอาหาร โดยเปิดเพิ่มขึ้นมากมาย ซึ่งอาหารของชาวเกาหลีเองก็ไม่ต่างไปจากชาวเองเชียทั่วไปคือมีข้าวเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ทว่าปัจจุบันชาวเกาหลีใต้กลับเริ่มบริโภคขนมปังแทนข้าวเป็นหลักโดยเฉพาะคนในเมืองเนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป กล่าวคือชาวเกาหลีใต้เริ่มต้องทำงานมากขึ้นและมีเวลาน้อยลงจนแทบไม่มีเวลาหุงข้าวนั้นเอง และการทำขนมปังก็งานและสะดวกสบายกว่า มีหลากหลายชนิดใก้เลือกสรรค์ ในปี 2005 ขนมปังเริ่มได้รับความนิยมมากกว่าข้าวและมีการขยายตัวของความนิยมมากขึ้นทุกๆปีเฉลี่ยปีละ 15% และในปี 2008 มีการขยายตัวจนทำให้ขนมปังเป็นอาหารที่คนเกาหลีนิยมกินมากกว่าข้าวถึง 2 เท่า บริษัท SPC Group ซึ่งเป็นบริษัทผลิตขนมปังที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียกล่าวว่า อนาคตของตลาดขนมปังในเกาหลีนั้นสดใสและยังเติบโตได้อีกมากเพราะจากผลการสำรวจขนมปังยังคงเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะจากบรรดาหนุ่มสาวเกาหลี และในปี 2014 นั้นอัตตราการบริโภคข้าวในเกาหลีใต้ต่ำที่สุดในประวัติการคือเพียง 65 กก/1 คน ซึ่งตำ่ที่สุดในประวัติการ อย่างไรก็ดีหากเรามองในแง่ของสุขภาพการกินอาหารที่แปรรูปน้อยย่อมดีต่อสุขภาพมากกว่าการกินอาหารที่ผ่านการแปรรูปมากๆ เรียบเรียงโดย Kin News, KinlakeStars. ——————————————————————————————————————————————— A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A B A A B A B A B…
ในปัจจุบันด้วยการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ อุปนิสัยของหนุ่มสาวรุ่นใหม่บางกลุ่มที่ทอดทิ้งมื้อเช้า หลายคนอาจมองข้ามการเริ่มต้นวันด้วยการละเลยที่จะกินอาหารเช้า แต่รู้หรือไม่ว่าอาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด การกินข้าวเช้าคือการกินอาหารที่ช่วยให้พลังงานกับร่างกายในการทำงาน ดังนั้นเรามาทำความรู้จักข้อดีๆและผลข้างเคียงถ้าละละเลยอาหารเช้าไปกันเถอะครับ ช่วงเวลา 07.00-09.00 น. คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการกินข้าว เช้า เพราะเป็นช่วงการทำงานของกระเพาะอาหารและเป็นช่วงที่สมองต้องการเลือดและ ออกซิเจนเป็นอาหารบำรุง ซึ่งหากไม่กินอาหารเช้า ร่างกายเราจะไปดึงสารอาหารสำคัญจากที่ต่างๆในร่าง กาย เช่น จากเม็ดเลือดและกระดูก เพื่อที่จะนำสารอาหารไปเลี้ยงสมองแทน ดังนั้นจึงอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆได้เช่นโลหิตจางและโรคกระดูกบางได้ ซึ่งยังมีผลการวิจัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกา (american heart association) ว่าการกินข้าวเช้าอย่างสม่ำเสมอนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคเส้นเลือดสมอง โรคหัวใจ ร่วมถึงลดอาการอ่อนเพลีย ถ้าหากกินข้าวเช้าที่มีใยอาหารสูง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของผู้ป่วยเบาหวาน และช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย นอกจากนี้การไม่กินเข้าเช้าอาจส่งผลให้เกิดผมร่วง หน้าแก่เร็ว คออักเสบง่ายรวมถึงนอนไม่หลับ และยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคความจำเสื่อม หรือ โรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดความเครียด ซึ่งเป็นตัวการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็ง เมื่อทุกท่านทราบดีถึงประโยชน์ของอาหารเช้าแล้ว กินมันกันเถอะเพื่อสุขภาพและชีวิตของพวกเรา แปลและเรียบเรียงโดย A. Kittin M.Arch, Tree.A ——————————————————————————————————————————————– AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB AA BB…
โรงแรมเชงกรี-ลา กรุงเทพฯ เชิญรื่นรมย์ไปกับแพ็กเกจเครื่องดื่มที่ท่านสามารถดิ่มไวน์และเบียร์ได้ไม่จำกัดตลอดสองชั่วโมงครึ่ง ในราคาเพียง 800 บาทถ้วน เมื่อท่านรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ที่เน็กซ์ทู คาเฟ่ หรือเอร็ดอร่อยกับอาหารมื้อค่ำ 3 คอร์สที่แอนเจลินี ดื่มด่ำกับแพ็กเกจเครื่องดื่มไม่จำกัดได้ทุกวัน ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2558 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือสำรองที่นั่ง กรุณาติดต่อแผนกสำรองที่นั่งห้องอาหาร โทร. 0 2236 9952 หรือ 0 2236 7777
Bloody Mary ค็อกเทลสูตรพิเศษที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานแห่งตระกูลเซนต์ รีจิส ตั้งแต่ปีสมัย 1934 ที่เริ่มคิดค้นขึ้น จาก แฟร์นองด์ เปอติโอต์ บาร์เทนเดอร์ ณ คิง โคล บาร์ ของ เดอะ เซนต์ รีจิส นิวยอร์ก ที่เป็นผู้คิดริเริ่มเครื่องดื่มค็อกเทลที่มีชื่อว่า เรด สแนปเปอร์ (Red Snapper) จนต่อมาได้เปลื่ยนชื่อเป็น บลัดดี้ แมรี่ และกลายเป็นหนึ่งในค็อกเทลที่มีชื่อเสียงระดับโลกในเวลาต่อมา นี่คือเครื่องดื่มที่ว่ากันว่ารักษาอาการเมาค้างได้ชะงัด บลัดดีแมรี (Bloody Mary) ทำจากวอดก้า น้ำมะเขือเทศ และเครื่องปรุงรสแรงอีกหลายอย่าง เช่น พริกชี้ฟ้าหรือพริกไทยดำ (black pepper) กับทาบาสโก และ วูสเตอร์ซอส (Worcestershire sauce) หลายคนลือกันว่าตั้งชื่อตามพระนางเจ้าแมรีที่ 1 (1516-1588) ผู้นับถือนิกายคาทอลิกและถูกจดจำในสมญา “แมรีนองเลือด” จากการสั่งล่าผู้ที่หันไปนับถือนิกายโปรเตสแตนต์อย่างไม่ลดละ คนเกือบ 300 คนถูกจับมัดกับเสาเผาทั้งเป็น คาดว่าสีน้ำมะเขือเทศคงดูคล้ายเลือดของผู้ที่ต้องสังเวยชีวิตเพราะพระนาง แต่เครื่องดื่มชนิดนี้ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับพระนาง เมื่อค้นพบว่าการเรียกวอดก้าผสมน้ำมะเขือเทศว่าบลัดดีแมรีในปารีสตั้งแต่ปี 1921 จึงไม่คิดว่าชาวฝรั่งเศสจะตั้งชื่อเครื่องดื่มค็อกเทลชนิดใหม่ตามชื่อราชินี อังกฤษ อันที่จริง พนักงานประจำบาร์ชาวฝรั่งเศสทั่วๆไปไม่น่าจะรู้จักหรือสนใจ พระนางด้วยซ้ำ คนในสมัยนั้นที่น่าจะเป็นเจ้าของชื่อแมรีนี้มากกว่าคือดาราภาพยนตร์ แมรี พิกฟอร์ด (Mary Pickford, 1892-1979) เคยมีคนตั้งชื่อค็อกเทลสีแดงอีกชนิดหนึ่งตามชื่อเธอมาแล้ว นักเขียนคอลัมน์ซุบซิบชาวนิวยอร์ก ลูเซียส บีบิ (Lucius Beebe) หนึ่งในคนแรกๆที่กล่าวถึงเครื่องดื่มชนิดนี้และคนจดจำกันได้ในปี 1939 เขาเขียนว่า “เครื่องดื่มสร้างความสดชื่นชนิดใหม่ล่าสุดฝีมือ จอร์จ เจสเซิล (George Jessel) ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของนักข่าวในเมืองนี้ ชื่อว่าบลัดดี แมรี เป็นน้ำมะเขือเทศครึ่งหนึ่ง วอดก้าอีกครึ่งหนึ่ง” เกือบ 3 ทศวรรษต่อมาในปี 1964 New Yorker ตีพิมพ์บทความที่แนะว่าบาร์เทนเดอร์ชาวฝรั่งเศสชื่อแฟร์นองด์ เปอติโอต์ (Fernand Petiot) เป็นผู้คิดค้นค็อกเทลรสร้อนแรงชนิดนี้ ซึ่งในนิตยสารฉบับดังกล่าวได้ยกถ้อยคำของเปอติโอต์มาดังนี้ “ผมเป็นคนคิดค้นบลัดดีแมรีอย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน เจสเซิลบอกว่าเขาเป็นคนคิด แต่ตอนที่ผมรับช่วงมันมา…
หอยทอด ออส่วน หรือออลัวะ ต่างเป็นชื่ออาหารจานที่ทุกท่านน่าจะคุ้นเคย หลายคนมักอาจจะแยกไม่ออกหรือเรียกสลับกัน วันนี้ทางกินแหลกแจกดาวจึงอยากแจกแจงว่ามันต่างกันอย่างไรและมีที่มาอย่างไรครับ หอยทอดมีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Oyster omelette และมีชื่อในภาษาจีนว่าจีน: 蠔仔餅 ซึ่งหอยทอดเองนั้นเป็นอาหารจีนชนิดหนึ่ง ซึ่งส่วนประกอบอาหารจานนี้นั้นก็ประกอบไปด้วย แป้ง ไข่และหอย หอยทอดมีสองชนิดคือแบบแป้งกรอบและแบบแป้งนิ่ม แบบแป้งนิ่มนั่นใช้หอยนางรมผสมกับแป้ง เครื่องปรุงรส ทอดในกระทะที่ร้อนจัด ใส่ไข่ โดยแป้งที่ใช้เป็นแป้งใส เหนียว เสิร์ฟในกระทะร้อน พร้อมถั่วงอกและซอสพริก มีชื่อเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “ออส่วน” แบบแป้งกรอบถ้าใช้หอยนางรมเรียก “ออลัวะ” (蠔烙) ถ้าใช้หอยแมลงภู่เรียก “ไช่ลัวะ” แต่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นอาหารไทย เหมือนอาหารจีนอีกหลายๆ ชนิดที่มาจากประเทศจีนแล้วนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความชอบของคนไทย หอยทอดที่ทำขายในแต่ละท้องถิ่นและมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง สรุปคือหอยทอดเป็นชื่อที่ใช้เรียกเมนูที่เป็นไข่ผสมแป้งแล้วทอดกับหอย ไม่ว่าจะเป็นออส่วน ออลัวะ หรือไช้ลัวะ คนไทยก็เรียกรวมๆกันไปว่า “หอยทอด” และสาเหตุที่เราใช้ทับศัพท์ ออส่วน ออลัวะ หรือไช้ลัวะ เพราะเป็นเพราะคนจีนส่วนใหญ่ที่มาตั้งรกรากค้าขายเป็นคนจีนที่ใช้จีนสำเนียง แต้จิ๋ว จึงเรียกทับศัพท์กันมาแต่พอมาหลังๆเราก็เรียกทับกันไปมาจนคนรุ่งใหม่หลายคน ก็เริ่มไม่เข้าใจแยกไม่ออกถึงความต่างนั้นเอง Kin General by KinlakeStars.com
ชีสเค้กเป็นเค้กอีกชนิตหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบันซึ่งหาซื้อกินง่าย ได้ตามร้านทั่วไป ชีสเค้กได้รับการสร้างเอกลักษณ์พิเศษตามท้องถิ่นที่ทำขึ้นมาใหม่ๆไม่ว่าจะ เป็น French cheesecake, Newyork cheesecake หรืออะไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ล้วน เริ่มต้นมาจากศิลปะโบราณของการทำชีสให้เป็นเค้กของชาวกรีก ชาวกรีกโบราณอยู่ได้ด้วยอาหารมื้อประหยัดที่ทำจากข้าว สาลี น้ำมันมะกอก และไวน์ ดังนั้นจึงเข้าใจได้ไม่ยากว่าทำไมพวกเขาถึงคลั่งชีสนักหนา ชาวกรีกให้ชีสกับลูกหลานเหมือนเป็นของกินพิเศษ “ชีสน้อย” (little cheese) เป็นคำพิเศษแสดงความรักใคร่ ชีสชนิดแรกสุดของชาวกรีกคือชีสนมแกะเรียบง่ายซึ่งเก็บไว้ในน้ำเกลือเพื่อ ถนอมไม่ให้ความร้อนรุนแรงในฤดูร้อนทำให้อาหารเสีย ชีสชนิดหนึ่งชื่อ เฟตา (feta) ถูกผลิตมาหลายร้อยปีแล้ว และยังคงเป็นอาหารหลักของคนกรีกในปัจจุบัน แม้ว่าชื่อเฟตาซึ่งมาจากคำในภาษาอิตาลีว่า เฟตตา (fetta) หรือ “ชิ้น” (slice) จะยังไม่มีการใช้จนกระทั่งศตวรรษที่ 17 ก็ตาม รสชาติจืดๆของเฟตาทำให้มันเป็นชีสที่อเนกประสงค์อย่างยิ่ง ใส่อาหารคาวหรือหวานก็อร่อยทั้งนั้น ใช้ทำชีสเค้กได้ด้วย เรื่องนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ชาวกรีกทำชีสเค้กไว้กินในโอกาสพิเศษ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่ามีการทำชีสเค้กให้นักกีฬาระหว่างการแข่งขัน โอลิมปิกครั้งแรกเมื่อปี 776 ก่อนคริสตกาลด้วยซ้ำ โดยสันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาหารสำหรับนักกีฬาที่มีชีสเป็นองค์ประกอบ หลัก เค้กแต่งงานในยุคนั้นทำจากชีสเกือบทั้งหมด ส่วนที่อาร์โกส (Argos) ก็มีธรรมเนียมให้เจ้าสาวนำชีสเค้กน้ำผึ้งชิ้นเล็กมาให้เพื่อนๆ ของเจ้าบ่าวกิน จากนั้นชาวโรมันรับช่วงอาหารกรีกชนิดนี้ไปอย่างรวดเร็ว มีการระบุชีสเค้กครั้งแรกใน De agri cultura (“ว่าด้วยเกษตรกรรม”) ของคาโตผู้อาวุโส (Cato the Elder) เมื่อราวปี 160 ก่อนคริสตกาล ผู้เขียนบรรยายการทำเค้ก (libum) วิธีทำใกล้เคียงกับชีสเค้กในปัจจุบันอย่างยิ่ง ดังนั้นคราวต่อไปหากคุณกินชีสเค้กสักชิ้น (fetta) ก็ขอให้คุณรู้ว่ามนุษย์เรากินอาหารชนิดนี้กันมานานแล้ว อ้างอิง : หนังสือตำนานอาหารโลก เรียบเรียงโดยทีมงานกินแหลกแจกดาว Kinlake Stars Team
หากท่านใดทานอาหารจีนเป็นประจำอยู่แล้วคงต้องเคยได้ลิ้มลองชิมแฮมยูนนานกัน บ้านหละครับ บางครั้งอาจไม่ทราบเพราะแฮมยูนนานมักถูกนำมาใช้ประกอบอาหารเป็นตัวประกอบ เป็นส่วนใหญ่ไม่ค่อยนำมาใช้เป็นตัวหลักในอาหาร ซึ่งแฮมยูนานนั้นเป็นวัตถุดิบปรุงอาหารโต๊ะจีนในตำนานที่มีราคาที่ค่อนแพง และหายากพอสมควรเลยทีเดียว สำหรับแฮมยูนานนั้นหากจะหาซื้อมาทำเป็นอาหารนั้นคงจะหายากไปสักหน่อย เพราะเนื่องจากส่วนมากแหล่งที่มีแฮมยูนานขายนั้นแหล่งที่พบมากที่สุดก็เห็น จะเป็นย่านเยาวราชนั้นเอง ตามซุปเปอร์มาเกตหรือตลาดสดทั่วไปไม่ค่อยจะมีวางขาย สำหรับรูปร่างหน้าตาของแฮมยูนานนั้นมิได้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับแฮม ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นแฮมหมู แฮมไก่ และแฮมชนิดอื่น เพราะแฮมยูนานนั้นหากมองดูแล้วรูปร่างหน้าตานั้นก็จะคล้ายๆกับหมูกรอบของ บ้านเราก็ประมาณนั้น ราคานั้นแพงพอสมควรเลยทีเดียว เพราะแฮมยูนานนั้นจัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีการของกาถนอมอาหารของคนจีนอีก ชนิดหนึ่งนั้นเอง การทำแฮมยูนนานเป็นการถนอมอาหารและเกิดจากวิถีชีวิตของคนยูนนาน เพราะคนยูนนานนั้นค่อนข้างจะยากจน ลำบาก ทำงานหนัก ประหยัด ในอดีตปีหนึ่งจะล้มหมูได้ซํกตัว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาทางทำการยืดอายุหมูที่ล้มมานั้นให้เก็บไว้ใช้ได้ ยาวนาน จึงทำเป็นแฮมเก็บไว้กินตลอดทั้งปี ภาชนะที่ทำจะเป็นถังไม้ โดยน้ำมันจากหมูจะหล่อเจ้าแฮมนี่ไว้และใช้เกลือปริมาณเยอะ ความเค็มจะช่วยถนอมอาหาร คล้ายๆกับเบคอนชาวสเปนแต่แฮมยูนนานจะเก็บได้นานกว่า เมื่อทำเสร็จจะได้หมูแข็งๆเป็นก้อนเค็มๆตามภาพ แฮมยูนนานเองมักนิยมยำไปต้มในซูปเช่นซุปหูฉลาม ซุปกระเพาะปลา ซุปไก่ดำ ผัดกับผัก นึ่งกับปลา หรือแม้แต่ใส่ในขนมหวานเช่นขนมไหว้พระจันทร์ เรียบเรียงโดยทีมงานกินแหลกแจกดาว Kinlake Stars Team.
มีหลายๆตำนานที่กล่าวถึงเรื่องราวที่มาของมายองเนส (mayonnaise) ซอสครีมสีเหลืองขาวนวลที่ทำจากน้ำมันมะกอก น้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชูกับไข่แดงอันโด่งดังนี้ หนึ่งในตำนานที่มีความเป็นไปได้สูงมาจากเรื่องราวประวัติศาสตร์การสู้รบทางทหารของอังกฤษและฝรั่งเศส ณ เมืองท่ามาฮอน (Mahón) เมืองหลวงของเกาะมินอร์กา (Menorca) แห่งหมู่เกาะแบลีแอริกในประเทศสเปน ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ชาวอังกฤษอาจรู้สึกไม่ค่อยสวยงามนัก ในประวัติศาสตร์ เกาะมินอร์กาเคยตกเป็นเมืองขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ครั้นในปี ค.ศ.1756 เกาะแห่งนี้ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ขณะนั้นมีพลเรือเอกจอห์น บิง (Admiral John Byng, 1704-1757) เป็นผู้กำกับดูแลพร้อมกองเรืออังกฤษ 13 ลำ แต่เนื่องจากดำเนินกลยุทธ์ผิดพลาด กองเรือจึงถูกทำลายสิ้นโดยทหารฝรั่งเศส ภายใต้การนำของดยุคแห่งริเชอลิเยอ (Duke of Richelieu, 1696-1788) ท่านดยุคนำทหารฝรั่งเศสกว่า 15,000 นายขึ้นฝั่งที่เมืองมาฮอนได้สำเร็จ ทางอังกฤษที่เหลือกองทหารรักษาการณ์อยู่เพียง 3,000 นายจึงยอมยกเกาะให้ฝรั่งเศสในวันที่ 28 พฤษภาคม เมื่อนายพลบิงเดินทางกลับไปยังยิบรอลตาร์ก็ถูกนำตัวขึ้นไต่สวนโดยศาลทหารและถูกตัดสินด้วยข้อหาไร้ความสามารถ จึงถูกลงโทษประหารชีวิตโดยการยิงเป้า วอลแตร์ (Voltaire) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสแสดงความเห็นเกี่ยวกับการไต่สวนครั้งนี้ไว้ในนวนิยายสั้นเชิงเสียดสีชื่อ Candide ตีพิมพ์ในปี 1759 ด้วยประโยคอันโด่งดังว่า “คนอังกฤษยิงนายพลบ่อยๆ เพื่อให้กำลังใจพวกที่เหลือ” สิ่งที่ทำให้อังกฤษยิ่งขายหน้ามากขึ้นไปอีกเมื่อพบว่าการบุกเมืองท่ามาฮอนครั้งนั้นของฝรั่งเศสในวันที่ 19 เมษายนประสบความสำเร็จมากที่ว่าทหารฝรั่งเศสไม่เสียชีวิตแม้แต่คนเดียว ดยุคแห่งริเชอลิเยอก็จัดงานเลี้ยงฉลองอย่างหรูเลิศอลังการ ตำนานเล่าว่าเชฟของท่านดยุคเพิ่งรู้ตัวขณะเตรียมอาหารเฉลิมฉลองว่าไม่มีวัตถุดิบทำครีมสำหรับซอสข้นที่จำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความเข้าตาจน เขาจึงนำสูตรซอสท้องถิ่นที่ชื่อไอโอลี (aioli) ซึ่งเป็นที่นิยมในแถบเมดิเตอร์เรเนียนหลายแห่ง แต่ดัดแปลงใหม่โดยไม่ใส่กระเทียมเขัาไปตามสูตรเดิม เมื่อท่านดยุคได้ลิ้มลองซอสครีมใหม่ที่เชฟเตรียมนี้กลับพบว่าเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ท่านดยุคจึงนำสูตรครีมใหม่นี้กลับฝรั่งเศสด้วยแล้วเรียกว่า “มาฮอนเนส” เพื่อระลึกถึงชัยชนะเหนืออังกฤษที่เมืองท่ามาฮอน หลังจากนั้นการใช้มายองเนสเป็นน้ำสลัดและเป็นส่วนผสมของซอสอื่นเริ่มแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วทั่วฝรั่งเศสหลังการกลับบ้านเกิดพร้อมชัยชนะของดยุคแห่งริเชอลิเยอ ชาวอังกฤษเลี่ยงมายองเนสอยู่เกือบ 100 ปี แต่แล้วก็ยอมใจอ่อนในที่สุด ตามข้อมูลใน Oxford English Dictionary อังกฤษรับซอสชนิดนี้มาใช้ปรุงอาหารในปี 1841 และก็ใช้กันมานับแต่นั้น
เอิร์ลเกรย์เป็นใคร? ชาแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ชาเขียวกับชาขาวซึ่งต่างไม่ได้ผ่านการบ่ม ชาอู่หลงซึ่งผ่านการบ่มเล็กน้อย และชาดำซึ่งผ่านการบ่มเต็มที่ จากประเภทหลักข้างต้นยังมีประเภทย่อยอีกนับพันที่ผลิตกันทั่วโลก ชาดำชนิดที่ได้รับความนิยมสูงสุดนอกจากมีรสชาติไม่ธรรมดาแล้วยังมีชื่อค่อน ข้างพิลึกว่าเอิร์ลเกรย์ (Earl Grey) ชาร์ลส์ เกรย์ เอิร์ลเกรย์คนที่ 2 (Charles Grey, 2nd Earl Grey, 1764-1845) เป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษในปี 1830-1834 ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการเมืองอังกฤษ แม้นโยบายของเขาถูกดยุคแห่งเวลลิงตัน (Duke of Wellington) นายกรัฐมนตรีคนก่อน คัดค้านอย่างรุนแรง เรื่องแรกที่เอิร์ลเกรย์ประกาศหลังขึ้นดำรงตำแหน่งแทนชายผู้ได้ฉายาว่า “ดยุคเหล็ก” คือคำสัญญาว่าจะปฏิรูปรัฐสภาครั้งใหญ่ รวมถึงยอมให้ประชาชนจำนวน 1 ใน 6 (จากประขากร 14 ล้านคน) ได้ออกเสียงเลืองตั้งจริงๆ ซึ่งอัตราก่อนหน้านั้นอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 20 เท่านั้น ในช่วงสั้นๆ ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เกรย์ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้เลิกทาสทั่วจักรวรรดิอังกฤษด้วย แต่สิ่งที่ทำให้ชื่อของเขายืนยงเป็นอมตะคือการเลิกสิทธิผูกขาดการค้ากับจีน ของบริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ในปี 1834 นำไปสู่การเปิดเส้นทางการค้าชาและยุคสมัยของเรือเร็วขนชา เรือประเภทนี้จะขนสินค้าเพียงชนิดเดียว สื่อให้เห็นว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความนิยมสูงมาก ธุรกิจส่งออกชาในจีนทำกำไรมหาศาลขึ้นมาทันที และทูตจีนผู้ซาบซึ้งใจก็มอบของขวัญให้นายกรัฐมนตรีอังกฤษเป็นชาสูตรใหม่ที่ ผสมน้ำมันพิเศษสกัดจากเปลือกมะกรูดฝรั่ง การที่ชาเอิร์ลเกรย์มีสีออกเทา (grey) มากกว่าชาธรรมชาติก็ดูจะเป็นการยกย่องท่านเอิร์ลผู้นี้ยิ่งขึ้นไปอีก ลองเอามันไปเทียบกับชาคนงานก่อสร้าง (builder’s tea) ดูสิครับ แล้วคุณจะเข้าใจว่าผมหมายถึงอะไร