Why Pub? ทำไมต้องเป็นผับ ?— ไม่จำเป็นเสมอไป
Dr.Athiwat T,
การระบาดของโควิทระลอกต่าง ๆ หลายครั้งเรามักจะได้ยินว่า ผับและสถานบันเทิงจะเป็นคลัสเตอร์บ่อย ๆ หลายคนอาจจะคิดว่าเกิดจากความหนาแน่นและคนอยู่ใกล้ชิดกันมาก ซึ่งในความเป็นจริงเป็นสาเหตุเพียงส่วนหนึ่ง เหตุผลของการระบาดในสถานบันเทิงมีเหตุผลซ่อนอยู่มากกว่านั้น ถ้าเข้าใจก็น่าจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมและป้องกันตัวเองมากขึ้น
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการระบาดของโควิท นั้นโดยทั่วไปเราพบว่าเกิดจากละอองฝอยขนาดใหญ่ (droplets) ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ติดต่อผ่านการหายใจเข้าไปโดยตรงถ้าไม่สัมผัสใกล้ชิด (โดยทั่วไป droplet จะกระจายไปไม่เกิน 2 เมตร เวลาจาม) (รูปที่ 1,2)
การแพร่กระจายส่วนใหญ่จะเกิดจากการสัมผัสกับ droplet ที่ปนเปื้อนอยู่กับพื้นผิวต่าง ๆ แล้วเอามือหรืออุปกรณ์ที่ปนเปื้อสัมผัสกับเยื่อบุอีกครั้ง ทำให้การป้องกันการระบาดสามารถใช้วิธีการ social distancing (>2 เมตร) ใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือใช้ได้ผล
แต่ความจริงนั้น การแพร่ระบาดของโควิทสามารถเกิดจาก “การติดต่อทางอากาศในบางสถานการณ์” (potential airborne) หรือ ในบางสภาวะที่ มีการสร้าง “ละอองแขวนลอยในอากาศ” (aerosols) ซึ่งมักจะเกิดจากการไอจาม หรือ การตะโกนเสียงดังก็สามารถทำให้เกิดได้ (aerosol generating events)
ปัญหาของสารแขวนลอย aerosols นี้คือ ถ้าหายใจเข้าไปจะติดโรคได้ทันที ! แม้ใส่หน้ากากอนามัยก็ตาม (ยกเว้น N95 ที่พอจะช่วยได้) และ อยู่ในอากาศได้ยาวนานถึง 3 ชม. !! (รูปที่ 3) แถมการไอหนึ่งครั้ง aerosols สามารถไปไกลได้ถึง 6 เมตร ซึ่งถ้าเป็นสถานที่เปิดโล่ง ก็จะช่วยทำให้ละอองแขวนลอยถูกอากาศส่วนใหญ่เจือจางและหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเป็นห้องปิด มีคนไอหนึ่งคนก็แทบจะกระจายได้จากหน้าห้องไปถึงหลังห้อง และยังลอยอยู่ในนั้นได้อีก 3 ชม. คนที่เข้ามาทีหลัง ก็สามารถสูดเข้าไปและติดโรคได้ ดังนั้น ผับ บาร์ จึงเป็นสถานที่ที่มีสภาวะที่เอื้อต่อการ “ติดต่อทางอากาศ” ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียงดัง ร้องเพลง ทำให้เกิดละอองแขวนลอย ห้องที่แคบ และการระบายอากาศที่ไม่ดี ถึงแม้จะรอดจากละอองแขวนลอยได้ ก็ยังมีพวก ละอองฝอยที่ตกและปนเปื้อนตามของใช้ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ แก้วน้ำ ลูกบิดประตู ซึ่งบางพื้นผิวเช่น พลาสติกและ stainless นั้น มีรายงานว่าพบเชื้อได้ถึง 72 ชั่วโมง ถ้าไปสัมผัสแล้วไม่ได้ล้างมือก็จะสามารถกระจายต่อได้อีก
แต่ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม สภาวะนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในผับบาร์ จะเห็นได้ว่า งานเลี้ยงในห้องปิด การประชุมในห้อง cocktail party social club ร้านอาหารที่มี cross circulation มาก ๆ ก็เกิดสภาวะที่เอื้อต่อการติดต่อทางอากาศได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น นอกจากจะไม่ไปผับแล้ว ก็ต้องพยายามลดความเสี่ยงอื่น ๆ ด้วย เช่นการประชุมออนไลน์ทดแทนการประชุมในห้อง นโยบายลดความแออัดในออฟฟิศ ฯลฯ โดยสรุป นอกจากการไม่ไปสถานที่ปิด อโคจรแล้ว ต้องหลีกเลี่ยงการสร้างสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดการติดต่อทางอากาศด้วย เพราะในสถานการณ์แบบนั้น การใส่หน้ากาก ล้างมือ อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป หน่วยงานแต่ละหน่วยน่าจะต้องมีนโยบายลดความเสี่ยงเพิ่มเติม เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อให้ได้มากที่สุด
Writer : Dr. Athiwat T.
Kinlakestars.com
KinlakeStars.com กินแหลกแจกดาว สื่ออาหารและการท่องเที่ยว ที่นำเสนอเกี่ยวกับ อาหาร และ การกินดื่ม รวมถึงการท่องเที่ยวและที่พัก ทั้งในส่วนของ รีวิว อาหาร สถานที่ กิน ดื่ม เที่ยว พัก ผ่อนคลาย ในทุกประเภทหมวดหมู่ โปรโมชั่น ส่วนลด เมนูใหม่ กิจกรรมพิเศษ ที่เกี่ยวกับการ กิน ดื่ม บทความที่เกี่ยวกับการ กินดื่ม ไม่ว่าจะเป็น บทความกินดื่มทั่วๆไป อาทิ วิธีการ กินชีส และการดื่มไวน์ บทความการกินเพื่อสุขภาพ บทความการกินตามเทศกาล บทความสาธิตและสอนทำอาหาร สูตรทำอาหาร ข่าวสารในแวดวง การกิน ดื่ม คลิปและวีดิโอ เกี่ยวกับการ กิน ดื่ม ท่านสามารถค้นหาร้านอาหารผ่านแถบค้นหาด้านบนสุดของเวปได้เพียงพิมพ์ชื่อร้าน หรือประเภทอาหาร และย่าน คิดถึงเรื่อง กิน ดื่ม คิดถึง kinlakestars.com – กินแหลกแจกดาว