สวัสดีค่ะ อากาศร้อนๆเช่นนี้ หากได้กินอะไรที่เย็นๆสดชื่น คงจะดีไม่น้อย ข้าวแช่เป็นอีกเมนูที่เหมาะกับการกินกันในช่วงฤดูร้อนมาก โดยหากหาอ่านประวัติของข้าวแช่จะพบว่า แต่เดิมข้าวแช่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาเพื่อใช้ไหว้ผีไหว้เจ้า ต่อมาได้ถูกปรับสูตรต่างๆจนเหมาะกับการกิน ให้มีหน้าตาที่สวยงาม รสชาติที่น่ากิน กลิ่นที่ชวนให้ลิ้มลอง
ข้าวแช่ตำรับเรือนนพเก้ามีการปรับเปลี่ยนหลายๆสูตรที่ดีเข้าด้วยกันจนลงตัว ทำให้ถูกปากผู้ใหญ่ แต่คนรุ่นใหม่ก็สามารถเข้าถึงและรู้สึกรื่นรมณ์เวลากินค่ะ
โดยสูตรข้าวแช่และเครื่องเคียงนี้ต้องชื่นชมเชฟปิ๊กเจ้าของรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันทำอาหารที่มีจิตวิญญาณความเป็นพ่อครัวอาหารไทยอย่างแรงกล้า
ซึ่งปีนี้ทางเรือนนพเก้า สาทร ได้รังสรรค์สุดวิจิตรบรรจงลงในภาชนะที่ดูหรูหราล้ำค่า นั่นคือให้บริการด้วยเครื่องเบญจรงค์ลายดอกราชพฤกษ์ โดยช่างเขียนชั้นบรมครูของการทำเครื่องเบญจรงค์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัตถุดิบชั้นเลิส รังสรรค์เป็น 3 คอร์ส ประกอบด้วย
แตงโมหน้าปลาแห้ง
โดยปลาแห้งได้มาจากการนำปลาช่อนแดดเดียวจากจังหวัดสิงห์บุรี นำมาย่างเอง จากนั้นนำมาโขลกให้ฟูหลังจากนั้นนำมาผัดให้แห้งปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย เกลือ หอมแดงเจียว เสิร์ฟพร้อมกับแตงโมแช่เย็น
ข้าวแช่และเครื่องเคียง
ต่อมาจะเข้าสู่ส่วนหลักของชุดข้าวแช่นี้ ซึ่งประกอบด้วยข้าวแช่ น้ำลอย และเครื่องเคียง ๗ อย่าง ประกอบด้วย ลูกกะปี หอมแดงสอดไส้ปลาแห้ง ไข่เค็มชุบแป้งทอด พริกหยวกสอดไส้ หมูฝอย ปลาช่อนแดดเดียวผัดหวาน หัวไช โป๊วหอมผัดน้ำมันหมู และเครื่องเคียงผักต่างๆสำหรับกินแนม
เริ่มกันที่ตัวข้าวค่ะ ข้าวมาจากสุรินทร์
สำหรับน้ำข้าวแช่ได้ มาจาก แหล่งน้ำแร่จากหมู่บ้านดอยงาม อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย แล้วนำมาฆ่าเชื้อด้วยการต้ม
ในอุณหูภูมิ ㆍㆍ องศาเซียสเซล เป็นเวลา ๑๕ นาที และทิ้งไว้ให้เย็นในโอ่งดินเผาเป็นเวลา 3 วัน
หลังจากนั้นนำมาลอยด้วยดอกไม้หอม ๔ ชนิด ประกอบด้วย กุหลาบมอญ ชมนาด กระดังงาสงขลา
มะลิ มาลอยในโอ่งดินเผาเป็นเวลา ๑ คืน และตามด้วยอบควันเทียนซึ่งมาจากเจ้าเก่าแก่ที่อยู่แถวบางลำพู
ส่วนข้าวในสำรับของข้าวแช่นั้น นำข้าวเสาไห้เก่ามาล้างน้ำสะอาด และแกว่งสารส้มจนใส หลังจากนั้นนำมาต้ม ในหม้อดินเผาให้จนเมล็ดข้าวบานและหลังจากนั้นนำมาล้างน้ำให้เย็น และพักไว้ให้สะเด็ดน้ำให้แห้งแล้วนำไปนึ่ง
ทั้งหมด ๓ รอบ แล้วผึ่งให้แห้ง หลังจากนั้นนำมาอบด้วยดอกไม้สดอีก ๔ ชนิดแล้วตามด้วยเทียนอบ
อีก ๑ คืน
ทีนี้เรามาดูเครื่องที่กินกับข้าวแช่กันค่ะ
ลูกกะปิ สำหรับกะปิที่นี่หอมเค็มกลมกล่อมกำลังดี ใช้กะปิจากระนอง ที่โขลกกะปิ ตะไคร้ กระชาย หัวหอม กะทิ ปั้นเป็นก้อนพอดีคำชุบไข่กับแป้งทอดให้เหลืองและเทคเจอร์เข้ากันอย่างลงตัว
หอมแดงสอดไส้ปลาแห้ง หอมแดงเป็นหอมแดงจากจังหวัดสุรินทร์ เป็นหอมแดงที่สอดไส้ปลาแห้ง ก่อนนำมาชุบไข่และแป้งลงทอด
ไข่เค็มชุบแป้งทอด อร่อย มันเค็มไปกับไข่แดงชั้นดีและนำมาชุบแป้งทอด
พริกหยวกสอดไส้ ไข่ที่ห่อพริกหยวกเชฟจะทอดจนกรอบเป็นตาข่ายสวยงาม นำพริกหยวกมาคว้านเมล็ดยัดไส้หมูสับปรุงรสแล้วนำไปนึ่ง ก่อนห่อด้วยไข่ตาข่าย
ปลาช่อนแดดเดียวผัดหวาน
หัวไชโป๊วหอมผัดน้ำมันหมู นำหัวไชโป้วไปผัดกับน้ำตาลมะพร้าว ปรุงรสด้วยน้ำตาลทรายและเกลือ ผัดจนกระทั่งได้เส้นหัวไชโป้วที่มีความวาวใส สวยงาม กรุบกรึบ
แนมด้วยผักสด ประกอบด้วย มะม่วงเปรี้ยว ต้นหอม กระชาย แตงกวา โดยผักส่วนใหญ่รับมาจากแปลงผักปลอดสารพิษที่มีการปลูกด้วยนวัตกรรมสุดพิเศษที่ใช้สนามแม่เหล็กในการป้องกันแมลง โดยเป็นนวัตกรรมจากญี่ปุ่นค่ะ
และวิธีรับประทานที่ถูกต้อง จะไม่ตักเครื่องเคียงใส่ลงไปในชาม เพื่อไม่ให้ข้าวแช่ขุ่นหรือเป็นมัน แต่จะตักเครื่องเคียงเข้าปากและตามด้วยข้าว ทานสะอาดหมดจดตั้งแต่เริ่มยันจบ ตามด้วยผักแก้มเสริมรสชาติให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ส้มฉุนมะยงชิด
ปิดท้ายกันด้วยของหวานสุดแสนจะนิยมกันไปทั้งพระนครสำหรับฤดูร้อนในอดีต ส้มฉุน นั่นเอง เมนูสาม ส้มฉุนมะยงชิด เป็นเมนูคลายร้อนที่สำหรับคนไทยในสมัยอดีต ที่จะนิยมรับประทานในช่วงฤดูร้อน
สีเขียวมาจากน้ำใบเตย พร้อมกับทางร้านเรือนนพเก้าได้นำมะยงชิดจากจังหวัดนครนายกซึ่งเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัด นำมารังสรรค์เป็นเมนูสำหรับร้านเรือนนพเก้า ซึ่งจะรับประทานได้ในช่วงนี้เท่านั้นค่ะ
ขนมทองนพเก้า
ขนมอันวิจิตรบรรจงที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก ขนมทองเอก ที่มาจากตำรับของท้าวทองกีบม้า เป็น
สุภาพสตรีมีชีวิตอยู่ในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ทางร้านเรือนนพเก้าได้นำกลับมาเล่าเรื่องราวบวกกับผสม
ผสานวัตถุดิบชั้นเลิศ เพื่อรังสรรค์กลายเป็นขนมทองเนื้อเก้า พร้อมกับชื่อเรียกสีในสมัยโบราณ
สีขาว = ขาวงาช้าง ความคิดสร้างสรรค์
สีแดง = แดงชาด ชื่อเสียง ลาภยศ
สีเหลือง = เหลืองหรดาล ความสมดุล
สีชมพู = ชมพูหงดิน ชีวิตคู่
สีเขียว
สีส้ม = ส้มเสน จิตวิญญาณ
เขียวนวล ครอบครัว
สีม่วง =
สีฟ้า = ฟ้าน้ำไหล ปัญญาความรู้
สีน้ำตาล = น้ำตาลแก่นขนุน สุขภาพ
ม่วงดอกตะแบก ความร่ำรวย รุ่งโรจน์
ชาถวายตัว
เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะแก่การดื่มปิดมื้ออาหารค่ะ มีกลิ่นที่หอมเป็นเอกลักษณ์มาก กลิ่นแรกเป็นกลิ่นดอกไม้ที่มีความเผ็ดเล็กน้อยชวนคลายความเหนื่อยล้าและผ่อนคลายได้ดี หลังจากรับกลิ่นและดื่ม พอหลับตาภาพแรกที่ผุดขึ้นมาคงเป็นภาพผนังไม้เรือนไทย ชานี้ทำจากดอกไม้ไทย ได้แก่ ดอกจำปี จำปา ลีลาวดี และดอกกระดังงา
ในคราวหน้าทาง Kinlakestars.com จะพาทุกท่านไปชิมลิ้มลองเมนูอื่นๆของทางเรือนนพเก้า ซึ่งน่าลิ้มลองและล้วนเป็นตำหรับโบราณที่ไม่สามารถหากินได้ในหลายๆที่
ข้อมูลสำคัญ
ราคา ๖๙๙++ สำหรับทานที่ร้าน และ ราคา ๑๒๙๙ บาท ข้าวแช่สำรับซื้อกลับบ้าน (2 ท่าน)
ภาย ในตะกร้าข้าวแช่จะประกอบไปด้วย ข้าวแช่สำหรับ ๒ ท่าน พร้อมกับขนมทองเนื้อเก้าจำนวน ๑
สำรับ ขนมทองนพเก้าหากซื้อแยก ราคากล่องละ ๒๙๐ บาทต่อกล่อง
แนะนำให้จองก่อนมานะคะเพราะเขาให้บริการเพียงวันละ 9 ที่เท่านั้น
Kin Review
thai Cuisine, casual dining, Review, เรือนนพเก้า, ข้าวแช่, รีวิว
KinlakeStars.com กินแหลกแจกดาว สื่ออาหารและการท่องเที่ยว ที่นำเสนอเกี่ยวกับ อาหาร และ การกินดื่ม รวมถึงการท่องเที่ยวและที่พัก ทั้งในส่วนของ รีวิว อาหาร สถานที่ กิน ดื่ม เที่ยว พัก ผ่อนคลาย ในทุกประเภทหมวดหมู่ โปรโมชั่น ส่วนลด เมนูใหม่ กิจกรรมพิเศษ ที่เกี่ยวกับการ กิน ดื่ม บทความที่เกี่ยวกับการ กินดื่ม ไม่ว่าจะเป็น บทความกินดื่มทั่วๆไป อาทิ วิธีการ กินชีส และการดื่มไวน์ บทความการกินเพื่อสุขภาพ บทความการกินตามเทศกาล บทความสาธิตและสอนทำอาหาร สูตรทำอาหาร ข่าวสารในแวดวง การกิน ดื่ม คลิปและวีดิโอ เกี่ยวกับการ กิน ดื่ม ท่านสามารถค้นหาร้านอาหารผ่านแถบค้นหาด้านบนสุดของเวปได้เพียงพิมพ์ชื่อร้าน หรือประเภทอาหาร และย่าน คิดถึงเรื่อง กิน ดื่ม คิดถึง kinlakestars.com – กินแหลกแจกดาว