โดย Kin Healthy Quater by Kinlake Stars
มีบความเกี่ยวกับนำ้มันมะพร้าวมากมายแต่ทว่าหลายบทความ มักจะเขียนหรือยกงานวิจัยและสรุปออกมาสุดโต่งเพื่อเชียร์ให้ซื้อนำ้มัน มะพร้าวหรือต่อต้านนำ้มันมะพร้าวอย่างเต็มที่ แต่ในบทความนี้ทีมงานกินเฮลตี้ได้ขอยกบทความวิจัยที่ผ่านการคัดกรองโดยทีม งานกินแหลกแจกดาว และขอนำเสนอในแง่มุมที่เป็นกลางและเป็นไปตามความเป็นจริงเพื่อการเลือกและ บริโภคให้ได้สุขภาพที่ดี
Dr.Mary G. Enig เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องน้ำมันมะพร้าวมาก ได้สรุปว่า น้ำมันมะพร้าวเหมาะกับยุคศตวรรรษที่ 21 มีข้อดีหลากหลายน้ำมันมะพร้าวที่เรากินเป็น neutral ไม่มีโอเมกา 6 ที่จะทำให้เกิดการอักเสบได้ น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันอิ่มตัว 92 % medium chain triglyceride ซึ่งดูดซึมได้ง่าย ทำให้ร้อนตัวได้เร็ว มีตัวยาที่ฆ่าเชื้อโรค ได้แก่ lauric acid 50% capric acid 7 % มีคอเลสเตอรอล
0% เป็นอาหารทางการแพทย์ ไม่ได้ให้แคลอรี่อย่างเดียว แต่ฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย อีกทั้งยังทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานดีขึ้น และมีสารต้านอนุมูลอิสระ
Dr. Bruce File กล่าวถึงการกลั้วกลอก ด้วยน้ำมันมะพร้าว (Oil Pulling)โดย เขากล่าวว่าe เป็นการทำ 3ก. กลิ้ง กลอก กลั้ว 3 ด. ดึง ดัน ดูด เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้า สิ่งแรกที่ต้องทำคือ บ้วนปากประมาณ 3-4 ครั้ง เพื่อเอาแบคทีเรียในปากทิ้งไป จากนั้นนำน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ 10 ซีซี 12 ซีวี หรือ 15 ซีซี ใส่ปากแล้ว ทำการ กลิ้ง กลอก กลั้ว ดึง ดัน ดูด อยู่ประมาณ 30 นาที ปากก็จะสะอาด แล้วบ้วนทิ้งไป การแปรงฟัน ลดอาการเหงือกอักเสบได้ 8 – 23 % 13 % วิธีการ Antiseptic Mouthwash ( การบ้วนปาก) ลดอาการเหงือกอักเสบ ได้ 13 % และวิธีการ Oil Pulling ลดอาการเหงือกอักเสบได้ 52 – 60 % การแปรงฟัน ลดอาการหินปูนที่ฟันได้ 11 – 27 % และวิธีการ Oil Pull ลดหินปูนที่ฟันได้ 18/30 %
ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจที่เป็นที่สนใจ คือ คอเลสเตอรอลสูง เป็นปัจจัยใหญ่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ห้ามกินน้ำมันอิ่มตัว แล้วน้ำมันไม่อิ่มตัวจะมีผลไหม ? ปัจจัยที่น่าสนใจคือ กรดไขมันที่อิ่มตัว เป็นไขมันที่ร่างกายเราสร้างไม่ได้ แต่เราต้องการ เราจะเอามากจากไหน? คนเราหากมีคอเลสเตอรอลสูง ไม่ได้เป็นปัจจัยในเรื่องการกินอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่นอีก เช่นผู้ชายที่มีอายุ 45 ปี ขึ้นไป ผู้หญิงอายุ 55 ปี ขึ้นไป เรื่องกรรมพันธุ์ การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า วัยประจำเดือนหมด คนอ้วน รับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอล และไขมันสูง ความดันโลหิตสูง ไม่ออกกำลัง
จากงานวิจัยที่ Mc Master University ประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญมากเกี่ยวกับการวางระเบียบวิธีวิจัย ได้นำงานวิจัยทั้งหลายที่เกี่ยวเรื่องน้ำมัน หรืออาหารที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ซึ่งระเบียบวิธีวิจัยทำเป็น Systemic Revew ถือเป็นระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และคนยอมรับมากที่สุด เป็นการนำวิจัยทั้งหมดมาดูก่อนว่า จะต้องเป็นงานวิจัยที่ดี 4-5 ข้อ แล้วนำผลนั้นมารวมกัน แล้วสรุปโดยใช้วิธีทางการวิจัยที่เป็น Systmic Revew แล้วหาข้อมูล ทำค่าทางสถิติออกมา งานวิจัยนี้ออกมาเมื่อปี 2009 มีความเข็มแข็งและได้รับการยอมรับ
งานวิจัยนี้บอกว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ การกินกรดไขมันทรานส์ ( trans fatty acid ) มากเกินไป กินอาหารที่มีน้ำตาลมาก ส่วนปัจจัยที่ไม่ทำให้เกิดโรคหัวใจ คือ กินแอลกอฮอล์ ปลา เส้นใยเป็นจำนวนมาก กินน้ำมันที่มีโอเมกา-3 ในจำนวนมาก กินผัก ผลไม้มากๆ กินวิตามินซี อี มากๆ เพราะเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ LDL ไม่เปลี่ยนเป็น oxidized form งานวิจัยนี้ไม่ได้บอกว่า น้ำมันอิ่มตัวเป็นตัวทำให้เกิดโรคหัวใจ
มีการพบคุณสมบัติของไขมันอิ่มตัวว่า น้ำมันอิ่มตัว เป็นตัวเพิ่ม HDL ลด lipoprotein ไม่ทำให้โอเมกา 3 หายไป ไม่ต้องการใช้เอนไซม์ ฆ่าเชื้อโรค ทำให้หัวใจทำงานได้ดี ทำให้กระดูก modeling ได้ดี แคลเซียมเกาะได้ดี เป็นตัวที่นำพาวิตามินที่ละลายน้ำได้ดี
ซึ่งปัจจุบันนำ้มันที่เราใช้กันในครัวเรือนส่วนใหญ่นั้น เป็นน้ำมันอันตราย น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัว เป็นน้ำมันที่อันตราย ปัจจุบันคน 70-80% ยังบริโภคน้ำมันถั่วเหลือง ในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันอื่นๆ มีโอเมก้า 6 มาก โดยไขมันที่จะจำเป็นต่อร่างกาย ก็จะมีโอเมก้า 3 ส่วน โอเมก้า 6 ทำให้เกิดการอักเสบ บวม แดง ร้อน ในขณะที่โอเมกา 3 จะต่อต้าน ดังนั้น หากเรากินน้ำมันถั่วเหลืองมากเกินไป โอเมกา 6 ก็จะสะสมอยู่มาก แต่มีโอเมก้า 3 อยู่น้อย แต่นำ้มันมะพร้าวนั้นไม่จัดอยู่ในกลุ่มนำ้มันอันตราย
แต่อย่างไรก็ตามหากใช้นำ้มันมะพร้าวก็ควรทานนำ้มันตับปลา เสริม ในอเมริกาจะส่งเสริมให้คนที่เป็นโรคหัวใจ ทานน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า 3 เมื่อเราทานน้ำมันมะพร้าว ในน้ำมันมะพร้าวจะไม่มีโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่าง หากเราทานน้ำมันมะพร้าวเพียงอย่างเดียว จะทำให้เราขาดโอเมก้า 3 โอเมกา 6 ดังนั้นเราจึงต้องทานน้ำมันอื่นมาผสมด้วย เพื่อทำให้ไม่ขาดน้ำมันไม่อิ่มตัวไป
อ้างอิงข้อมูลจาก : รายงานการสัมมนาเรื่อง น้ำมันมะพร้าวกับโรคหัวใจ ถอดจากแถบบันทึกเสียงโดย เฟืองเฉย สมัยเทอดศักดิ์ กรมวิชาการเกษตร ทำบรรณาธิกรโดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย.
ด้วยความปรารถนาดีจาก Kin Healthy ทีมงานกินแหลกแจกดาว